วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาษาไทย ม.3 บทที่ 8 ที่เรียกว่าก้าวหน้า


บทที่ 8
ที่เรียกว่าก้าวหน้า


"ข้าพเจ้าคิดว่าความก้าวหน้าอยู่อยู่ที่การแสวงหา

ความรู้เพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด

เพื่อให้ตนเองเป็นคนทันสมัย และทันดลกอยู่เสมอ

และถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นอีกด้วย

ชื่อเสียงและความสรรเสริญเยินยอข้าพเจ้าไม่ปราถนา

แต่ต้องการทำงานเพื่ออุดมคติมากกว่าเพื่อเงิน

แม้เงินจะน้อยแต้ถ้ามีโอกาสก้าวหน้าในทางความรู้

ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว"



ที่เรียกว่าก้าวหน้า


        เมื่อรถแล่นผ่านโรงภาพยนตร์ ใครคนหนึ่งก็ร้องขึ้นว่า  "นั่นแนะ! เรื่องของ 'พรรณลักษมี'  เข้าฉายแล้ว คืนนี้ฉันเห้นจะต้องมาดูเสียแล้ว"
        "ฉันก็เหมือนกัน" อีกคนหนึ่ง  "เป็นแฟน 'พรรณลักามี' อ่านเรื่องนี้ในหนังสือแล้วยังติดใจไม่หาย มาทำเป้นภาพยนตร์คงจะมีชีวิตชีวาอีกไม่น้อย''

          คำว่า  ''ก้าวหน้า'' ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงย้อนหลังไปถึงเมื่อครั้งก่อนสมัยที่เราสามคน ลักษษมี วีณา และข้าพเจ้า ยังเรียนอยู่ในชั้นอุดมศึกษา ปีสุดท้ายของการเรียน เราเกิดสงสัยกันขึ้นว่า ใครจะก้าวหน้ามากกว่าใครเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพ  ข้าพเจ้าเองเป็นผู้ถามว่าที่เรียกว่าก้าวหน้าคืออย่างไร
           ลักษมีตอบทีนทีว่า
          ''สำหรับฉัน  ความก้าวหน้าคือความมีชื่อเสียงเกียรติยศปรากฎเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คนเราถ้าเกิดมาเป็นเพียงคยเล็กๆคยหนึ่งที่ไม่มีใครกล่าวขวัญถึงอย่างย่กย่องแล้ว ก็นับว่าเสียชาติ''

วีณาตอบว่า

    ''ความก้าวหน้าของฉันอยู่ที่เงิน  ฉันไม่เห็นแคร์ว่าจะไม่ชื่อเสียงหรือเปล่า มีใครรู้จักหรือไม่ ขอให้ฉันได้ทำงานในหน้าที่ดีๆ และมีหวังจะได้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็พอแล้ว เพราะว่าเงินคือหลักฐานที่มั่นคงสำหรับประกันชีวิตในอนาคต ถ้าเงินไม่เพียงพอเราจะมีชีวิตอยู่ให้อย่างไร''
       ข้าพเจ้าคิดว่าความก้าวหน้าอยู่ที่การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้ตนเองเป็นเป้นคนทันสมัย และทันโลกอยู่เสมอ และเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นอีกด้วย ชื่อเสียงและความสรรเสริญเยินยอข้าพเจ้าไม่ปรารถนา แต่ต้องการทำงานเพื่ออุดมคติมากกว่าเพื่อเงินแม้เงินจะน้อยแต่ถ้ามีโอกาสก้าวหน้าในทางความรู้ ข้าพเจ้าก็พอแล้ว
        เมื่อจบการศึกษา  ลักษมีไปสมัครทำงานหนังสือพิมพ์และฝึกฝนตนเองให้เป็นนักเขียน นั่นเป็นขั้นแรกของการแสวงหาชื่อเสียงข้าพเจ้ได้ข่าบ่อยครั้งว่าลักษมีย้ายจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ไปอยู่ฉบับนั้น จากฉบับนั้นไปโน้น ลักษมีทำหน้าที่เป็นนักข่าว  เป็นช่างภาพในตัวเสร็จ  และเริ่มงานเขียนหนังสืออย่างตั้งอกตั้งใจ เธอเริ่มจากเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายที่สะท้อนภาพชีวิตจริง แต่ก็ปรากฎว่าไม่เป็นที่นิยม ลักษมีจึงเปลี่ยนแนวการเขียนใหม่  เธอเริ่มเขียนนวนิยายเสียดสีสังคม ได้รับความนิยมอยู่พักเดียว คนอ่านก็เกิดเบื่อหน่าย  ลักษมีจึงเปลี่ยนมาเขียนนวนิยายเบาสมองเต็มไปด้วยความเพ้อฝันซึ่งในชีวิตจริงไม่มีวันจะเป็นไปได้ และคราวนี้นวนิยายของเธอได้รับการต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่งจากเด็กวัยรุ่นและจากคนที่เบื่อหน่ายชีวิตจริงของตนเอง  เรื่องของลักษมีได้รับการถ่ายทำภาพยนตรืหลายเรื่อง เธอเป็นผู้ที่ก้าวหน้าในด้านชื่อเสียงอย่างแท้จริง

             ส่วนวีณาไปสมัครทำงานกับชาวต่างชาติ  เธอเปลี่ยนงานบ่อยมาก จากบริษัทการค้าย้ายไปบริษัทการบิน  จากบริษัทการบินย้ายไปประจำองค์การต่างประเทศ  เขามีรายด้ายงามจากงานที่ทำและสะสมเงินไว้ได้มากมายสมดั่งใจที่ตั้งไว้
        สำหรับข้าพเจ้า   ก็ได้เลือกงานครูมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งบัดนี้ในด้านการเงินข้าพเจ้าไม่อาจเทียบกับทั้งสองได้  ในด้านชื่อเสียงก็ไม่มีใครรู้ แต่วิชาความรู้ข้าพเจ้าได้พากเพียรศึกษาต่อจนได้ปริญญาสูงขึ้น   สมบัติของข้าพเจ้าจึงมีเพียงงานวิจัย  ซึ่งตนเองไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจัดพิมพ์ได้  แต่อย่างไรก็ตาม  ความรู้ของข้าพเจ้าเป็นที่ยอมรับว่าใช้การได้  ทุกๆปีจะได้รับเลือกเป็นเจ้าหน้าที่แผนกการข่าวสารต่างประเทศ   ทุกครั้งมีการประชุมใหญ่จะมีชาวต่างชาติมาจำนวนมาก
       ใครจะก้าวหน้ามากกว่ากัน   ดูเหมือนจะหาคำตอบได้ยากแต่ความก้าวหน้าที่สมบูรณ์ที่สุดก็คงจะได้แก่ชื่อเสียง  เงิน
และ  วิชาความรู้  แต่คนเรามักจะต้องเลือกเอาอย่างเดียว ถ้าโชคดีก็ได้เพียงสองอย่าง  คุณเล่าจะเลือกแบบไหน

ข้อคิดจากเรื่อง
              เรื่อง  ที่เรียกว่าก้าวหน้า  เป็นผลงานเขียนของศุทธินีซึ่งเป็นนามปากกาของศาสตราจารย์กิตติคุณสุทธิลักษณ์  อำพันวงศ์  ในเรื่องนี้ผู้เขียนนำคำว่า ก้าวหน้า  มาเป็นประเด็นเพื่อให้ผู้อ่านวิเคราะห์คามคิดเห็นที่แตกต่างหลายมุมมอง        
              จบเรื่องด้วยการสรุปสาระที่ได้เสนอมาทั้งหมดและกระตุ้นให้ผู้อ่านนำไปคิดต่อเพื่อตัดสินใจเลือกรูปแบบก้าวหน้าของตนเอง

บทความ
       เรื่อง  ที่เรียกว่าก้าวหน้า  เป็นงานเขียนประเภทบทความ  งานเขียนที่เป็นบทความมีคำเรียกต่างๆ หลายคำ   มีลักษณะต่างกันไป   แต่การแบ่งระหว่างชื่อเรียกงานเขียนลักษณะหนึ่งกับอีกลักษณะหนึ่ง  อาจไม่เด่นชัด     เช่น    
บทความอธิบายกับบทความสารคดี  อาจแยกจากกันไม่ได้เด็ดขาดอย่างไรก็ตาม  งานเขียนบทความ   เป็นงานที่ทุกคนทำได้ไม่ยาก  และเป็นงานที่ควรฝึก  เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนและการทำงาน
            เรื่อง  ที่เรียกว่าก้าวหน้า  เป็นบทความแสดงความคิดเห็น  คือบทความที่ผู้เขียนเสนอความคิดเห็น  เรื่องที่นำมาเขียนเป็นบทความแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องใดก็ได้  เช่น  เรื่องเกี่ยวกับการศึกษา  การทำมาหากิน   ฯลฯบทความที่เป็นคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์  นิตยสาร  วารสารทั่วไป  มักเป็นบทความแสดงความคิดเห็น   ลักษณะและวิธีการเขียนมีหลายแบบแล้วแต่ความถนันของผู้เขียน  เช่น  บางคนชอบเขียนแบบงานสร้างสรรค์เป็นนิทาน  แต่บางคนเขียนแบบเรื่องเล่า   เรื่อง ที่เรียกว่าก้าวหน้า  เป็นบทความแสดงความคิดเห็นที่นักเรียนอาจใช้เป็นแบบอย่างได้แบบหนึ่ง
การประเมินคุณค่าของบทความ                
          การพิจารณาคุณค่าของบทความ  โดยทั่วไปมักพิจารณาจากจุดมุ่งหมายและการนำเสนอเนื้อหาของบทความนั้นๆ หรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือแก่สังคมส่วนรวม  การประเมินคุณค่าบทความมีหลักเกณฑ์ทั่วไป  ดังนี้
          ๑.มีเนื้อหาสาระที่ให้ความรู้หรือความคิดอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
          ๒.เสนอข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นความจริง มีหลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้
          ๓.นำเสนอเรื่องราวที่เป็นธรรม การอ้างเหตุผลถูกต้อง
          ๔.แสดงความคิดเห็นและเสนอวิสัยทัศน์ได้อย่างน่าสนใจ
          ๕.ใช้ภาษาถูกต้อง มีความชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย สอดคล้องกับเรื่องราวที่นำเสนอ
          ๖.มีกลวิธีในการนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตามอ่าน

        เรื่อง  ที่เรียกว่าก้าวหน้า เป็นบทความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ก้าวหน้า โดยมีบุคคล ๓ คน คือ ลักษมี วีณา และตัวผู้เขียนแสดงความคิดเห็นตามมุมมองของตนให้ผู้อ่านได้พิจารณา ความคิดเห็นซึ่งแตกต่างกันนั้น ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมของแต่ละคนซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต   การประกอบอาชีพและความสำเร็จในชีวิตของคน
        ลักษมี   ให้ความสำคัญแก่ชื่อเสียงเกียรติยศ ลักษมีจึงมุ่งมั่นแสวงหาแนวทางอันจะทำให้ตนประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้ โดยเริ่มจากการเป็นนักเขียนข่าวประจำสำนักพิมพ์หลายแห่ง แล้วพัฒนาตนเองเป็นนักเขียนเรื่องสั้น ในที่สุดก็ประสบคววามสำเร็จเป็นนักเขียนนวนิยายแนวเพ้อฝันเบาสมอง
        วีณา ให้ความสำคัญแก่ความมั่นคงในชีวิต คือ ต้องมีเงินมากๆ ต้องมีอาชีพที่ดีเพื่อให้มีรายได้สูงๆ วีณาเปลี่ยนงานบ่อยมากเพื่อให้ได้งานที่มีรายได้สูงกว่าเดิม ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ มีอาชีพที่มั่นคง และมีรายได้มาก
         ส่วน ตัวผู้เขียน ให้ความสำคัญแก่การได้ทำงานที่ตนรัก มีโอกาสแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เป็นคนทันสมัย  ได้ศึกษาเพิ่มเติมความรู้ในระดับที่สูงขึ้นและมีผลงานเป็นที่ยอมรับของบุคคลในวงการอาชีพของตน                                                                                                         
        บทความเรื่องนี้ นอกจากเนื้อหาสาระดี ให้ข้อคิดแก่ผู้อ่านแล้ว ยังมีวิธีการเขียนที่น่าสนใจ ชวนอ่าน เพลิดเพลิน ชวนให้ติดตามอ่านแต่ต้นจนจบ  ความก้าวหน้าที่สมบูรณ์แบบที่สุด ก็คือชื่อเสียงเกียรติยศ เงินทอง และวิชาความรู้ โดยทิ้งปริศนาที่เป็นคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านนำไปคิดและตัดสินใจ ผู้เขียนยังบอกอีกว่ายากยิ่งนักที่คนเราจะโชคดีได้ความก้าวหน้าทั้ง ๓ อย่างแต่โดยทั่วไปมักจะเลือกได้เพียงอย่างไดอย่างหนึ่งเท่านั้น                                                                                          

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันวิสาขบูชา 2



วันวิสาขบูชา




           วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญ วันวิสาขบูชา หมายถึง อะไรเรามีคำตอบ
           วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าครับ

 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

         
 คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...





         1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส




2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
          
           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
          
 ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
          
 ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา







3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)
          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่อดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

      เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น





 ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย
 
          ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา


          ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย



          สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ



          หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ  และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน