วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เช้าฮาเย็นเฮ


           
 บทที่ 3
                        
 เรื่อง    เช้าฮาเย็นเฮ

" พ่อรักเราและรักแม่เราจึงไม่กินเหล้า
พ่อบอกว่าพ่ออยากอยู่กับเรานานๆ
คนที่เล่นดนตรี  คนที่เล่นกีฬาจะแข็งแรงและอายุยืน
คนกินเหล้าอายุสั้น  พ่อเราอยากมีอายุยืน
และพ่อบอกว่าอยากเสียเงินซื้อเหล้า
พ่อจะเก็บเงินไว้ให้เราเรียนสูง ๆ"


เช้าฮาเย็นเฮ

สุพจน์กับศรัณย์  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนประจำจังหวัด  เดินออกจากโรงเรียนเพื่อจะกลับบ้านซึ่งอยู่ทางเดียวกันสุพจน์นึกถึงว่า...จะต้องไปพบพ่อที่พาเพื่อนมานั่งกินเหล้าอยู่หน้าบ้านคุยกันเฮฮาแล้วเรียกหากับแกล้ม  พอดึกเข้าก็จะเมา  เสียงเฮฮาก็จะกลายเป็นอ้อแอ้      เพื่อน ๆ  พ่อบางคนก็กลับบ้าน    บางคนก็ไม่กลับเพราะกลับไม่ไหว     พอพ่อเข้ามาในบ้านก็จะเริ่มบ่นแล้วด่าว่าแม่    ว่าทำไม่ไม่ดูแลบ้าน  วางข้าวของเกะกะ  ทิ้ง ๆ  ที่ในบ้านแทบจะไม่มีข้าวของอะไรอยู่แล้ว  แล้วก็ว่าะไรไปเรื่อย ๆ ซํ้า ๆ กันทุกวัน

สุพจน์    :   เราไม่เข้าใจเลย    ไอ้เหล้านี่มันมีอะไรดี   พ่อต้องกินทุกวัน   
                   พอตกเย็นก็กินเหล้า    กินแล้เวก็เมา    เฮไปเฮมา   แล้วก็ต้องมา
                  ทะเลาะกับแม่
ศรัณย์    :   มันก็มีฤทธิ์ซิ  เรายังอยากลองกินเลย   เขาว่ากินเหล้าแล้วเก่ง   
                   ไม่มีใครกล้าสู้
สุพจน์    :   เราว่า   เขาไม่สู้เพราะเหม็นเหล้ามากกว่า   คนเมาเหล้าดูทุเรศ 
                   น่าเกลียดจะตาย
ศรัณย์    :    เราถ้ากินนิดหน่อย    ไม่เมามาก  ก็เท่ดีนะ
สุพจน์    :   เราไม่เห็นเท่สักนิด   เหล้าต้องไม่ดีแน่ๆ  ผู้ใหญ่ถึงห้ามเราไม่ให้กิน
ศรัณย์    :   ถ้าไม่ดี   ทำไมเขาถึงกินกันทั้งบ้านทั้งเมืองล่ะ  เหล้าแพงด้วยนะ
สุพจน์    :   นายว่าเหล้าดี  แต่พ่อนายก็ไม่กินเหล้า  พ่อเรากิน  เราก็เห็นอยู่ว่าไม่ดี   เรามาหาข้อมูลแข่งกัน        
                   ไหม   ที่ว่าดีกับไม่ดีอะไรจะมากกว่ากัน
ศรัณย์    :    หาที่ไหนดีล่ะ   จากหนังสือหรือทางเหน็ตดี
สุพจน์   :    ทางไหนก็ได้   เออ   นายไปถามพ่อนายก็ได้   พ่อนายไม่กินเหล้า  อาจจะบอกได้ว่าทำไมไม่
                   กิน  พ่อเราน่ะไม่ต้องถามหรอก  รู้คำตอบอยู่แล้ว  เขาต้องว่า  เหล้าดีมาก  มันซื้อสัตย์กินทีไร
                   เมาทุกที   เขายังกินทุกวันเลย
ศรัณย์    :   เออ   พอดีครูให้ทำรายงาน   สิ่งที่เป็นภัยสังคม  เราเอาเรื่องนี้   ทำเป็นรายงานส่งครูเลย   
                  นายหาจากหนังสือนะ   เราจะดูทางเหน็ต  แล้วเรามาดูกัน
สุพจน์    :  เออ   ตกลง  แล้วเจอกันนะ
ศรัณย์    :   หวัดดี

อีก  ๒  วันต่อมา  ศรัณย์กับสุพจน์  นำข้อมูลที่หาได้
มาพิจารณาด้วยกัน


          ศรัณย์ค้นข้อมูลจาก  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  โดยพระราชาประสงค์ในพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๒๗ หน้า ๑๗๓ ได้ความรู้ว่า
              เหล้าเป็นเครื่องดื่มที่มีสารแอลกอฮอล์     แอลกอฮอล์เป็นสารธรรมชาติที่ได้เจากหมักนํ้าตาล  
( เช่น นํ้าตาล จากข้าวต่างๆ จากข้าวโพดหรือจากผลไม้  เช่น องุ่น ) กับ ยีสต์  เกิดเป็นสารซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า  เอทานอล ( ethanol ) สารนี้เป็นของเหลวที่ระเหยง่าาย  มีกลิ่นและรสแรงบาดคอ 
เมื่อจะทำเป็นเครื่องดื่มจึงผสมกับสิ่งอื่นทำให้เอทานอลเจือจางลง   ส่วนผสมที่มีนํ้า  ๑๐๐ ส่วน   มี  แอลกอฮอล์ ๒๘ ส่วน  เรียกว่า  มีแอลกอฮอล์ ๒๘ ดีกรี ถ้าส่วนผสมมีนํ้า ๑๐๐ ส่วน  มีแอลกอฮอล์ ๓๕ส่วน  เรียกว่า   มีแอลกอฮอล์  ๓๕ ดีกรี  เหล้าที่ผลิตและนิยมดื่มกันในประเทศไทยมักจะเป็นเหล้านี้ที่มีแอลกอฮอล์   ประมาณ ๓๕ ดีกรี 
สุพจน์    :   เราได้ข้อมูลจากเหน็ตมาเพียบเลย   นี่ไง
ศรัณย์    :   นายโหลดมาเหรอ
สุพจน์   :    เปล่า  เราไม่ได้โหลดมาหรอก   พี่เราบอกว่า  เราไม่ควรลอกข้อความจากเหน็ต   ควรอ่านแล้ว        
                   สรุปมาแต่ใจความที่น่าสนใจ  ถ้าจะลอก  ก็ต้องบอกชื่อเจ้าของให้ชัดเจน
                   เราจะอ่านที่เราเขียนมาให้ฟังนะ

                  เมื่อเราดื่มสุรา   เอทิลแอลกอฮอล์ที่กินจะ
เข้าไปสู้เส้นเลือดซึ่งจะกระจายไปสู่ทุกส่วนของร่างกายและทฎให้เกิดผลต่อสมองถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด  ๒๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์   จะทำให้รู้สึกคึกคักร่าเริง  คนกินเหล้าแรกๆ ก็จะเฮฮาสนุกสนานถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๕๐  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  จะควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้คล่อง   ทำอะไรช้าลง  ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๑๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะทำให้เดินไม่ตรงทาง  ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๒๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะเกิดอาการสับสน  จึงมักจะมีเรื่องวิวาทกัน    ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๔๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเกิดอาการสลบและอาจถึงตายได้

ศรัณย์    :   เรารู้ว่า   คนที่กินเหล้ามีแอลกอฮอล์เกิน  ๕๐  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์   ถ้าขับรถจะถูถตำรวจจับ 
                  ต้องโดนปรับและอาจถูถติดคุกด้วยนะ 
สุพจน์   :   ใช่   เพราะตอนนั้นประสาทจะสั่งการช้าลง   จึงไม่ควรขับรถแล้วนายรู้ไม่ว่าพิษ  
                  ของแอลกอฮอล์ต่อร่างกายมีอะไรบ้าง
ศรัณย์   :   รู้ซิ  แยะเลย   ร้ายๆ  ทั้งนั้น
สุพจน์  :   ใช้   เราหามาจากเหน็ตด้วย   เราสรุปมาได้อย่างนี้
                 
                 เมื่อดื่มสุราตอนแรก   สุราจะกระตุ้นจิตใจให้ชุ่มชื่น   ลืมทุกข์ลืมความไม่สบายใจชั่วคราว      แต่ถ้าดื่มต่อไปก็จะติดเพราะสุราเป็นสารเสพติด   กินแล้วก็จะกินบ่อยๆ   กินเป็นประจำแล้วจะเกิดโรค    เรีกว่า   โรคพิษสุราเรื้อรัง  ทำให้เกิดโรคตับแข็ง   กล้ามเนื้อหัวใจฝ่อ   ความดันโลหิตสูง   ประสาทตาเสีย      
และโรคอื่น ๆ  อีกหลายโรค
ศรัณย์   :    แม่บอกเราว่า

                  โทษของสุราเมรัยนั้น    รู้กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้วจึงได้มีศีลข้อ  ๕  ห้ามดื่มสุราเมรัย   เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้คนขาดสติ    มึนเมา   ทำสิ่งที่ไม่หน้าทำและไม่ควรทำ     แต่ที่คนยังคงดื่มกันอยู่ก็เพราะคนเราออ่นแอ  ไม่เข้มแข็งพอที่จะขัดขืนกิเกสหรือความอยากในความชั่วได้  


สุพจน์    :    เราเคยได้ยินมาว่า   "คนกินเหล้าเพราะมีคนชวนให้กิน   คนชวนบอกว่า    ผู้ชายต้องกิน
                    เหล้า"  
ศรัณย์    :    แปลว่าอะไร   ผู้ชายต้องกินเหล้า   ก็เราเป็นผู้ชาย    ถ้าไม่กินเหล้าแล้วจะกลายเป็นผู้หญิง 
                   หรือเป็นตุ๊ดไปหรือ
สุพจน์    :   นั่นซิ   เป็นผู้ชายก็ไม่เห็นต้องกินเหล้า    ผู้หญิงกินเหล้าก็มีน่าเกลียดกว่าผู้ชายเสียอีก  แล้ว
                   ทำไมคนต้องกินเหล้า    
ศรัณย์    :    ก็เขาบอกว่ามันเป็นสิ่งเสพติดไง    คือ  คนกินเเล้วก็ติด    ต้องซื้อมากินเรื่อย ๆ    คนที่เขา
                   ทำขายเขาก็ได้สตางค์
สุพจน์   :    เราว่าไม่ควรส่งเสริมให้คนกินเหล้าและให้คนผลิตเหล้าเพราะเหล้าไม่ได้เป็นพิษเฉพาะกับคน
                   ที่กินเท่านั้น   คนอื่นที่ไม่ได้กิน     แต่ถ้าอยู่ใกล้ ๆ   ก็อาจพลอยถูกพิษของเหล้าด้วย   เรา
                   เกลียดเหล้าที่สุดเลย
ศรัณย์   :     เราก็ไม่ชอบเหมือนกัน
สุพจน์   :    เรามาสัญญากันไหม  ว่าโตขึ้นเราจะไม่กินเหล้า  ถึงจะมีคนชวน  ถึงจะมีคนท้า  เราก็จะไม่กิน
ศรัณย์   :    เอาซิ   แต่....ถ้าเราไม่กินเหล้า  เพื่อนเขาไม่คบกับเราล่ะ
สุพจน์  :   นายจะไปสนใจคนขี้เหล้าทำไมล่ะ
ศรัณย์   :   ไม่รู้ซิ   บางทีเราก็อยากมีเพื่อนแยะ ๆ แล้วเราเคยได้ยินคนเขาพูดว่า  เหล้าทำให้มีเพื่อน
สุพจน์   :   เพื่อนขี้เมาทั้งนั้นน่ะซี   พ่อนายไม่กินเหล้า   เขาก็มีเพื่อนไม่ใช่หรือ
ศรัณย์   :   ใช่  พ่อเรามีเพื่อนที่เล่นดนตรีด้วยกัน   พ่อบอกเราว่า   พ่อรักเราและรักแม่เราจึงไม่กินเหล้า    
                 พ่อบอกว่าอยากอยู่กับเรานาน ๆ   คนที่เล่นดนตรี   คนที่เล่นกีฬาจะแข็งแรงและอายุยืน    
                 คนกินเหล้าอายุสั้น   พ่อเราอยากมีอายุยืน   และพ่อบอกว่าไม่อยากเสียเงินซื้อเหล้า   พ่อจะเก็บ
                 เงินไว้ให้เราเรียนสูง ๆ 

                 สุพจน์กับศรัณย์ได้ทำรายงาน   เรื่อง   โทษของการดื่มสุรา    ส่งครูและได้รับคำชมว่าเป็นรายงานที่ดีเพราะมีข้อมูลหลากหลาย     ข้อมูลเชื่อถือได้     การเสนอข้อมูลและความคิดเห็นสมเหตุผล   มีเอกภาพและใช้ภาษาไทยถูกต้อง


 ข้อคิดจากเรื่อง

        เรื่องที่อ่านเป็นบทสนทนาของนักเรียนชาย ๒ คน   ที่มีความคิดก้าวหน้าสุพจน์มีพ่อที่ดื่มสุรา     พอเมามากแล้ว    ก็จะหาเรื่องทะเลาะกับแม่    เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท    ทำให้ขาดสติและเห็นผิดเป็นชอบ    สุพจน์จึงไม่ตระหนักถึงพิษภัยของสุรามานัก    แต่เมื่อได้เรียนรู้ว่ามีสุรามีพิษร้ายแรงต่อสุขภาพ    ก็เห็นด้วยกับสุพจน์ว่าไม่ควรดื่มสุรา 

        บทสนทนานี้มีลักษณะโน้มน้าวใจให้เห็นโทษของสุรา   โดยใช้เหตุผลของนักเรียนชาย ๒ คน  ที่ทั้งสนับสนุนและโต้แย้งกัน   เสริมด้วยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งจากสารานุกรม    จากอินเตอร์เน็ต    จากการสอบถามบุคคล   และจากการสังเกตของตนเอง    นักเรียนทั้งสองประมวลความรู้    แล้วพิจารณาเลือกทางปฏิบัติสิ่งที่ดี   ที่เหมาะสม   มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม   สุดท้ายได้ตัดสินใจยืนหยัดทำสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้อง

การจับประเด็นสำคัญ

       การฟังสนทนา    ฟังการอภิปราย   การอ่านหนังสือ  หรืออ่านบทความใด ๆ  ผู้ฟังผู้อ่านควรพยายามจับประเด็นสำคัญของเรื่องให้ได้ว่า     เนื้อหาของเรื่องนั้นกล่าวถึงอะไร    สาระสำคัญหรือประเด็นหลักคืออะไร    มีเรื่องอะไรเป็นประเด็นรองอะไรเป็นพลความหรือส่วนที่ขยายประเด็นหลักให้ชัดเจนยิ่งขึ้น   ถ้ามีผู้พูดหรือผู้แสดงความคิดเห็นหลานคน    ก็ต้องพยายามแยกความคิดเห็น    และพฤติกรรมของแต่ละคนให้ได้    เพื่อให้เข้าใจเรื่องได้ถูกต้อง    นอกจากเข้าใจเรื่องแล้ว   ควรพยายามพิจารณาจุดมุ่งหมายของผู้พูดผู้เขียนด้วย    จุดมุ่งหมายนั้น    บางครั้งก็เห็นได้ง่าย   แต่บางครั้งก็อาจซ่อนอยู่  ต้องวิเคราะห์ใหลึกจึงจะเห็น
  
       เนื้อหาสำคัญของเรื่องที่อ่านในบทนี้  คือ  การแสดงโทษของสุรา   ซึ่งปรากฏในการแสดงความคิดเห็นของศรัณย์และสุพจน์    รวมทั้งในข้อมูลความรู้ที่นักเรียนทั้งสองค้นคว้ามา     จุดมู่งหมายของเรื่อง   คือ  การโน้มน้าวใจให้งดดื่มสุราด้วยการแสดงโทษของสุราที่มีต่อผู้ดื่ม    ทั้งโทษต่อสุขภาพ    โทษต่อบุคลิกภาพ    โทษต่อศีลธรรมและคุณธรรม    ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจและทำให้ครอบครัวไม่สงบสุขตลอดจนอาจทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้ใจ   เช่น   คนที่เมาแล้วขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุและทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

      ปัจจุบันการศึกษาหาความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน    มีแหล่งความรู้ที่นักเรียนจะค้นคว้าได้เองอยู่รอบตัว    ถ้าสงสัยหรือมีปัญหาในเรื่องใด ๆ   ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นความรู้ในวิชาการที่ศึกษา  ความรู้รอบตัว   ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต   ปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ    ปัญหาสังคม    ปัญหาทางอารมณ์   ฯ ลฯ  ในห้องสมุดมีหนังสือมากมายให้ค้นคว้าหาคำตอบ    มีแหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตมีครูอาจารย์และผู้มีความรู้มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ   ที่สามารถไต่ถามเพื่อให้ได้ความรู้และข้อคิดที่มีประโยชน์

       การหาความรู้จำเป็นต้องมีการกลั่นกรอง    หาแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ   มีสถาบันรับรอง  ต้อง
พิจาณาความถูกต้องและความสมเหตุผลของความรู้ที่ได้รับก่อนที่จะเชื่อถือ   ควรยึดหลักของกาลามสูตรที่มีให้เชื่อสิ่งใดก่อนที่จะได้พิจารณาไตร่ตรองให้รู้ผลอย่องถูกต้อง   เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกต้อง  เห็นว่าเหมาะสมจึงควรเชื่อและปฏิบัติตาม

การสร้างค่านิยมใหม่

      สุราเป็นเครื่องดื่มที่เชื่อกันมาช้านานว่าใช้ดื่มเพื่อเข้าสังคม   แต่ในปัจจุบันความรู้เรื่องพิษของสุราทำให้คนทั่วไปเห็นว่า    การดื่มสุราทำให้เสียสุขภาพ   เสียบุคลิกภาพ   ทำให้เสียทรัพย์โดยไม่จำเป็น   และอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ง่ายคนจำนวนมากจึงงดดื่มสุรา    เพราะมีบทพิสุจน์แล้วว่าแม้ไม่ดื่มสุรา     
ก็ยังสามารถเข้าสังคมได้ดี   คนรุ่นใหม่หลายคนจึงมีความคิดใหม่   คือหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา   และสร้างค่านิยมใหม่  ไม่ต้องการทำตามค่านิยมที่ผิด ๆ  และค่านิยมที่ขัดกับศีลธรรมที่ดีงาม    จะสังเกตเห็นว่าคนรุ่นใหม่ไม่นิยมสูบบุหรี่   เพราะเข้าใจดีว่าบุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย    และคนที่อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ก็ได้รับพิษจากควันบุหรี่ด้วย   คนรุ่นใหม่นิยมเล่นกีฬาหรือดนตรี  และใช้การเล่นกีฬาการเล่นดนตรีเป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ทางสังคมได้อย่างดียิ่ง

          อธิบายศัพท์
          เอทิลแอลกอฮอล์  หมายถึง  แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง  เป็นของเหลวใส  ไม่มีสีเสพเข้าร่างกายแล้วจะทำให้เมา  ทำลายสมองและประสาท  คำนี้มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ethyl  alcohol

         มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  หมายถึง  หน่วยวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายวัดได้จากลมที่ผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป่าใส่เครื่องวัด  หรือเจาะเลือดหาปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย
         
          โรคพิษสุราเรื้อรัง  หมายถึง  โรคที่เกิดจากการดื่มสุรามากเป็นเวลานานจนมีอาการสมองและประสาทเสื่อม  มือสั้น  เดินเซ  สติปัญญาเสื่อม

         สารเสพติด  หมายถึง  สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำให้เมื่อเสพเข้าสู้ร่างกายแล้ว เลิกไม่ได้  ต้องเสียอีก  และต้องการเสพมากขึ้นเรื่อยๆ  สารเสพติดพบในสุรา   บุหรี่และในยาบางชนิด  สารเสพติดเกือบทั้งหมดเป็นพิษต่อร่างกาย

ศัพท์วิชาการ
         ศัพท์วิชาการ   หมายถึง   คำศัพท์ที่ใช้กล่าวถึงหรือใช้อธิบายเรื่องราวที่เป็นความรู้ทางวิชาการแขนงต่างๆ มักเป็นคำที่ไม่ใช้กันโดยทั่วไป   เช่น  ศัพท์วิยาศาสตร์  ศัพท์ทางธุรกิจสาขาต่างๆ  ศัพท์กฎหมาย ฯลฯ  ศัพท์วิชาการเป็นคำที่ผู้ศึกษาวิชาการนั้นๆ เข้าใจร่วมกันอย่างดี   ส่วนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอาจไม่เข้าใจ    ศัพท์ ศัพท์วิชาการส่วนมากเป็นคำที่รับมาจากภาษาต่างประเทศ   และนักวิชาการสาขานั้นๆ  แปลหรือสร้างคำขึ้นเป็นศัพท์บัญญติและกำหนดให้มีความหมายตรงกับคำภาษาต่างประเทศเหล่านั้น

        ตัวอย่างศัพท์วิชาการในสาขาต่างๆ
        ศัพท์สาขาวิทยาศาสตร์ 
              คลอโรฟีลล์   การสังเคราะห์แสง  ปรากฏการณ์เรือนกระจก   การกำทอนเซลล์  พล้าสมา  ฯลฯ  
        คณิตศาสตร์
              เอกนาม   พหุนาม   ทฤษฎีบท   เซ็ตว่าง  จำนวนอตรรกยะ  รากที่สอง   ไซน์โคโซน์   คอร์ด  ฯลฯ
        ศัพท์สาขาเศรษฐศาสตร์
              อุปสงค์   หุ้นบุริมสิทธิ์   ธุรกรรม   ไตรมาส   เงินเฟ้อ   ดุลบัญชีเดินสดพัด  จีดีพี  ฯลฯ
        ศัพท์สาขากฎหมาย   
               คดีดำ   คดีถึงที่สุด  กระทงความ  ทำให้เสียทรัพย์    อาญาแผ่นดิน    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง   ให้การภาคเสธ  ฯลฯ

     ศัพท์บัญญัติ
             คำว่า   ศัพท์ศัพท์บัญญัติบัญญัติ   คือ คำที่คิดขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์ทางวิชาการภาษาอังกฤษซึ่งรับมาใช้ในภาษาไทยพร้อมกับการรับวิทยาการและความเจริญด้านต่างๆ   ปัจจุบันการรับวิทยาการจากโลกทางตะวันตกมีอยู่ทุกสาขา  ทำให้ภาษาไทยรับคำภาษาอังกฤษเข้ามามากความพยายามที่จะรักษาภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาของชาติมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อมเร็วเกินไป   ทำให้ผู้มีความรู้และปราชญ์ทางภาษาช่วยกันคิดคำภาษาไทยหรือนำคำภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งรู้จักกันดีอยู่แล้วมา
สร้างเป็นคำศัพท์บัญญัติใช้แทนคำภาษาอังกฤษนั้น  คำศัพท์ในวิชาการสาขาต่างๆ   ส่วนมากจึงเป็นศัพท์บัญญัติที่นักวิชาการนั้น ๆ  คิดขึ้น  โดยมีคณะกรรมการของราชบัณฑิตยสถานรับรอง   อย่างไรก็ตาม  การคิดคำศัพท์เพื่อให้ได้คำที่เหมาะ    มีความหมายและเสียงตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นต้นคำไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายๆ   บางกรณีอาจใช้คำไทยมาปรับใช้ให้ตรงกันได้  เช่น
  กรดน้ำส้ม         เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า          acetic  acid     
  ก๊าซไข่เน่า                                                 "                     hydrogen   sulfide
  ฝนกรด                                                       "                    acid  rain
                                                                 ฯลฯ
บางกรณีต้องนำคำภาษาบาลีสกสกฤตมาใช้   เช่น
  พหูพจน์           เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า           plural
  สิทธ์                                                           "                                               right
  อวกาศ                                                       "                                               space
                                                                  ฯลฯ
หรือนำคำของภาษาบาลีสันสกฤตมาสร้างตามกฎการสร้างคำแบบสมาส  เช่น 
กัมมันตรังสี       เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า      radioactive
บรรยากาศ                                                  "                                            atmosphere
ธรณีวิทยา                                                   "                                            geology
                                                                ฯลฯ
ส่วนคำศัพท์ที่ไม่อาจบัญญัติให้ตรงตามความหมายได้  ก็จำเป็นต้องใช้คำภาษาอังกฤษนั้นเป็นคำยืม  เช่น
แคลคูลัส           เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า         calculus
แอลกอฮอล์                                                "                                               alcohol
โครโมโซม                                                 "                                               chromosome
                                                               ฯลฯ      
คำทับศัพท์
          การทับศัพท์     เป็นวิธีการถ่ายรูปคำภาษาอังกฤษมาเขียนด้วยตัวอักษรไทย   โดยเทียบตัวอักษรตัวต่อตัว     ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแปรรูปคำทับศัพท์กลับบไปสู่คำภาษาอังกฤษได้     การทับศัพท์เป็นวิธีการที่ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย     เกตุสิงห์คิดขึ้นใช้ในการเขียนบทความทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในสารศิริราช     เมื่อ     ๕๐     กว่าปีมาแล้ว     ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย   เกตุสิงห์     เป็นบรรนาธิการวารสารการแพทย์ฉบับนั้นและได้พบว่าผู้เขียนบทความและรายงานผลการวิจัยทางการแพทย์     ส่วนมากเขียนบทความภาษาไทยโดยใช้คำภาษาอังกฤษที่เขียนด้วยตัวอักษโรมันแทรกอยู่เป็นจำนวนมาก     เพราะแพทย์ยังไม่สามารถแปลหรือบัญญัติคำภาษาไทยใช้เพื่อแทนคำภาษาอังกฤษนั้น ๆ ได้
           คำทับศัพท์ไม่ได้แสดงการออกเสียงคำในภาษาอังกฤษ     ทั้งไม่ได้แสดงว่าเป็นคำในภาษาไทย     คำทับศัพท์เป็นเพียงการเขียนคำภาษารอังกฤษด้วยตัวอักษรไทยพอเป็นเค้าให้ทราบว่า     คำนั้น ๆ     ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นคือคำอะไร     คำใดมีศัพท์บัญญัติใช้แล้วก็ไม่ต้องใช้คำทับศัพท์ต่อไป     เช่น     คำทับศัพท์บางคำเมื่อมีใช้มาก ๆ ก็จะมีผู้คิดศัพท์บัญญัติขึ้นใช้แทนทำให้ไม่ต้องใช้คำทับศัพท์อีกต่อไป      เช่นคำว่า    polynomial,    allotropic,     bond     เดิมเคยใช้คำทับศัพท์ว่า        
 โพลิโมเมียล,    แอลโลโทรปิก,   และบอนด์   แต่ปัจจุบันนิยมใช้ศัพท์บัญญัติว่า   พหุนาม,   อัญรูป  และพันธบัตร   ตามลำดับ  คำที่รับมาจากภาษาอังกฤษคำใดไม่สามารถคิดศัพท์บัญญัติขึ้นใช้แทนได้   ก็ต้องรับเป็นคำยืม   จึงต้องเขียนและออกเสียงอย่างภาษาไทย  เช่น  คอมพิวเตอร์    ก๊าซ   น็อต   รักบี้   แท๊กซี่ เปอร์เซ็นต์   เต๊นท์   สตอเบอรีร์   ฯลฯ

คำภาษาปาก
            คำภาษาปาก   คือ  คำที่ไม่เป็นทางการ    ใช้พูดกับคนสนิทอย่างเป็นกันเองไม่ใช้ในภาษาเขียน   คำที่เป็นภาษาปากมีลักษณะสำคัญดังนี้
           ๑. เป็ญคำที่ตัดย่อมาจากคำเต็ม   เช่น 
               เหน็ต      เป็นภาษาปาก         ตัดย่อมาจากคำเต็มว่า     อินเตอร์เน็ต 
               บายดี      

ที่มา:http://www.pennapa-m3.blogspot.com/
                   

รู้ตำนานสืบสานวัฒนธรรม


บทที่ 7
รู้ตำนานสืบสานวัฒนธรรม

ก็สมบัติมหาศาล จะมีประโยชน์

เมื่อจ้าของตายลง


เปิงซงกราน

     อดีตกาลนานมาแล้ว นับตั้งต้นภัทรกัป  ยังมีเศรษฐีผู้หนึ่งมั่งคั่งบริบรูณ์ด้วยทรัพย์สมบัติแก้วแหวนเงินทอง จะขาดอยู่ก็แต่ทายาทที่จะรับสืบทอดมรดกมหาศาลนี้เท่านั้น  เศรษฐีก็มิได้รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจแต่ประการใด  คิดเสียว่าสักวันหนึ่งก็คงจะสมปรารถนา
       
 จนกระทั่งวันหนึ่ง เกิดเหตุด้วยนักเลงสุราข้างคฤหาสน์เศรษฐี   นั้นเองคงจะเมาหนักกว่าปรกติ จึงล่วงล้ำเข้าไปถึงในเขตบ้านเท่านเศรษฐี   มีหนำซ้ำยังกล่าวถ้อยคำเป็นเชิงเยาะเย้ยดูหมิ่นเจ้าของบ้านเสียอีก้วย เศรษฐีอดรนทนไม่ได้จึงถามขึ้นว่า
         เจ้านี่ใครกัน อวดดียังไงจึงเข้ามาอาละวาดถึงในบ้านเราไม่รู้รึว่าเราเป็นคหบดีที่ผู้คนนับถือตากันทั้งเมือง  เจ้าล่วงล้ำเข้ามาในบ้านแล้ว ยังมากล่าววาจาจ้วงจาบหยาบช้าเอากับเราถึงเพียงนี้
         นักเลงดีตอบอย่างไม่พรั่นพึงว่า
          ''กะแค่มีสมบัติมากเท่านี้  เราไม่เห็นจะแปลก ท่านร่ำรวยเป็นเศรษฐี ก็ดีอยู่หรอก  แต่อีกหน่อยท่านก้ต้องตายแล้วท่านจะเอาสมบัติพวกนี้้ไปได้หรือเปล่าล่ะ ลูกเต้าที่มาสืบทอดมรดก ทำบุญทำทานไปให้ท่านก็ไม่มีสักคน  แล้วสมบัติของท่านนี่จะมีประโยชน์ เรานี่เสียอีก แม้จะจนแต่แต่เราก็มีลูกชายหน้าตาผิิวพรรณหมดจดงดงามถึง 2 คน  เราตายไปลูกเราก็จะดูแลข้าวของเงินทอง ที่เราทิ้งไว้ ทำบุญส่งไปให้เราได้ ท่านจะมามีดีกว่าเราที่ตรงไหนิ 
           เศรษฐีฟังแล้วถึงแก่อาการอ้ำอึ้งนึกเห็นคล้อยเห็นตามวาจาของนักเลงสุราฝีปากดี  ก็สมบัติมหาศาลนั้นจะมีประโยชน์อันใดเมื่อเจ้าของตายลง  คิดแล้วเศรษฐีก็ร้อนรุ่มกลุ้ลใจมาขึ้นมาทันที  ที่เคยไม่สนใจเรื่่ิองทายาทสืบตระกูล ก็ชักจะกระวนกระวายหนักถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ครุนคิดแต่จะหาทางมีลูกมารับมรดกตกทอดเมื่อตัวตาย
             เมื่อได้ลูกชายสมความปรารถนา  เศรษฐีก็ชื่นชมโสมนัสยิ่งนักถึงกับปลูปราสาท ๗ ชั้นให้ลูกชายเศรษฐีมีชื่อว่า  ธรรมบาลกุมารปราสาทนั้นก็อยู่ใกล้ๆ  ต้นไทรริมน้ำนั้นเอง คงด้วยเห็นว่าบุตรที่ได้มานี้เป็นเพราะพระไทรประทานให้
       เนื่องจากปราสาทของธรรมบาลกุมารอยู่ติดกับต้นไทร ธรรมบาลก็เลยพลอยได้ใกล้ชิดกับบรรดาฝูงนกที่มาเกาะมากินผลไทร จนถึงกับรู้ภาษานกในที่สุด และนอกจากภาษานกแล้วธรรมบาลก็ยังได้ร่ำเรียนไตรเพท หรือพระเวททั้งสามอันเป็นวิชาความรู้สูงในสมัยนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่ออายุเพียง ๗ ขวบ  และกลายเป็นผู้มีความสามารถบอกฤกษ์ยาม และอธิบายข้อปัญหาขัดข้องแก่ชนทั้งหลายได้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งยิ่งนัก
         ในชมพูทวีปสมัยนั้น ผู้คนล้วนนับถือท้าวมหาพรหมและท้าวบิลพรหม ซึ่งเป็นผู้บอกมงคลแก่มนุษย์  เมื่อธรรมบาลมาตั้งตนเป็นอาจารย์บอกมงคลฤกษ์ยามอีกคนหนึ่ง  ท้าวกบิลพรหมใคร่จะทดลองปัญญาของธรรมปาลว่าจะแก่กล้าสักเพียงใด จึงตั้งปัญหา ๓ ข้อให้ธรรมบาลแก้ ถ้าแก้ได้ ท้าวจะตัดเศียรตนบูชาธรรมบาล แต่ถ้าแก้ไม่ได้ ตนก็ต้องตัดเศียรบูชาท้าวกบิลพรหมเช่นกัน   ปัญหามีว่า
                            เวลาเช้า                         สิริอยู่ที่ไหน
                            เวลากลางวัน                 สิริอยู่ที่ไหน
                           เวลาเย็น                         สิริอยู่ที่ไหน
            ธรรมบาลขอเวลา  ๗  วัน  แต่จนถึงวันสุดท้ายก็คิดไม่ออกโทมนัสกลัวว่ารุ้งขึ้นจะต้องตัดหัวบูชาท้าวกบิลพรหม  ธรรมบาลจึงไปนอนรำพึงรำพันใต้ต้นตาลคู่  ขณะที่นอนอยู่  ก็ได้ยินเสียงนกอินทรีสองผัวเมียคุยกันว่า รุ้งขึ้นจะไปหาอาหารที่ไหน นกตัวผู้บอกว่า  ไม่ต้องกังวล เรื่องหาอาหาร  พรุ่งนี้จะต้องได้กินเนื้อธรรมบาลแน่นอน เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ก็ต้องถูกตัดหัว  นกตัวเมียจึงถามว่าปัญหานั้นว่าอะไร นกตัวผู้ก็บอกให้ แถมเฉลยอีกด้วย  ธรรมบาลเลยพลอยได้ยินข้อเฉลย
            เมื่อถึงกำหนด  ท้าวกบิลพรหมก็มาฟังข้อเฉลย ธรรมบาลกุมารจึงไขว่า
            
            เวลาเช้าสิริอยู่ที่หน้า  ชนทั้งหลายจึงเอาน้ำลูบหน้าปราศมลทิน  เวลา

กลางวันสิริอยู่ที่อก ชนทั้งหลายจึงเอาน้ำประพรมอก เวลาเย็นสิริอยู่ที่เท้า ชน

ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้าก่อนนอน
            
            ธรรมบาลตอบถูก ท้าวกบิลพรหมต้องตัดหัวตามสัญญา ท้าวจึงเรียก

ธิดาท้ังเจ็ดพร้อมหน้ากันเเล้วสั่งว่า
            
            พ่อต้องถูกตัดหัวตามสัญญา เเต่หัวของพ่อนั้น  ถ้าวางไว้บนพื้นพิภพ 

จะเกิดไฟไหม้ทั้งแผ่นดิน  ถ้าโยนขึ้นในอากาศ ฝนฟ้าจะแล้ง  ถ้าทิ้งใน

มหาสมุทร  น้ำก็จะแห้ง เจ้าจงเอาพานมาคอยรับหัวพ่อนี้เถิด

            เมื่อสั่งเสียเเล้ว ท้าวก็ตัดหัวตนออกบูชาธรรมบาล ธิดาองค์โตนามว่า 

ทุงษะ จึงเอาพานมารองรับหัวพ่อไว้แห่แหนประทักษิณรอบเขาพระสุเมร เเล้ว

จึงนำไปประดิษฐานไว้ในพรหมโลก  แต่นั้นมาเมื่อครบรอบวันสงกรานต์  ธิดา

ทั้งเจ็ด จะผลัดเปลี่ยนเวียนกันนำหัวของเท้ากบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุปี

ละคร้ังสืบมา

     
           ตำนาน
          
    ตำนานหมายถึงเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล ปูชนียวัตถุหรือสถานที่สำคัญ ที่มาของประเพณีหรือพิธีกรรม
          ลักษณะตำนานเป็นเรื่องเหนือจริงหรือสัมพันธ์กับความเป็นจริง แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาบรรพชนและความเป็นมาของชนชาติ เช่น
          
         ความเชื่อคตินิยมเรื่องสิริ
          
     สิริหมายถึง มงคล สิ่งที่จะนำความโชคดี ความเจริญและความสุขมาให้ซ้อนกับคำว่ามงคล  ยกตัวอย่างความเชื่อเรื่องสิริในเวลาเช้าจะอยู่ที่ใบหน้า เวลากลางวันจะอยู่ที่อกและเวลาเย็นจะอยู่ที่เท้า

        ความเชื่อเรื่องมีบุตรชายสืบตระกูล
   
     ความเชื่อของชาวมอญ รับมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์ ฮินดูว่า ถ้ามีบุตรชายจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ตนและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ในสังคมโบราณเป็นสังคมเกษตรก็ต้องการแรงงานผู้ชายมาทำงานรักษาผืนนาและทรัพย์สมบัติอื่นให้ลูกหลานในภายหน้า
           
      ตำนานวันสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ไทย

          ในรอบ ๑ปีจะมี ๒ วัน ซึ่งจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดูได้ดีที่สุดคือ วันที่ ๒๑ มี.ค.เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนตามลำดับ และวันที่ ๒๒ ก.ย.เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวตามลำดับ จึงได้กำหนดให้ปลายเดือนมีนาคมและต้นเดือนเมษายนเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับปฏิทินไทยตามคติมอญ
          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ จนในสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามได้ถือเอาวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ตามตะวันตก
          คำว่า สงกรานต์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าก้าวไปพร้อมกันคือวันที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่ราศีหนึ่ง
          ไทยถือเอาวันที่ ๑๒ ก่อนวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสิ้นปี วันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันปีใหม่ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาเป็นวันที่พระอาทิตย์ประทับในราศีเมษ  วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกขึ้นศักราชใหม่ ศักราชที่เปลี่ยนในช่วงสงกรานต์เราเรียกว่าจุลศักราช
          เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์จะมีประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย เพราะเชื่อว่าทุกย่างก้าวที่เราออกจากวัดมักจะนำทรายติดเท้าออกนอกวันจึงต้องขนทรายเข้ามาในวัดอีกครั้งหนึ่ง 

มองโฆษณาอย่างวรรรณกรรม


มองโลกอย่างวรรณกรรม


          "การโน้มน้าวใจในโฆษณาบางเรื่อง       



ใช้กลวิธีเร้าความรู้สึกให้เกิดอารมณ์ร่วมกับคนอื่นๆ             

 ที่เป็นคนส่วนใหญ่ เช่นการโน้มน้าวใจให้รักชาติ                                      
         ห่วงใยสิ่งแวดล้อม  เห็นใจคนจน ฯลฯ"


     การโฆษณาสินค้าหรือบริการในสื่อต่าง ๆ บางรายการอาจบอกกล่าวตรง ๆ บางรายการเสนอเป็นละครฉากสั้น ๆ   มีตัวละครแสดง บางรายการแสดงในลักษณะทำให้เห็นสิ่งที่เกินจริงหรือตลกขบขัน     บางรายการก็เสนอภาพที่สับสน  วุ่นวาย การโฆษณามีจุดมุ่งหมายสร้างความสนใจให้ผู้คนสะดุดตา สะดุดใจ และจดจำสินค้าหรือบริการที่โฆษณา ผู้สร้างโฆษณาอาจใช้วิธีการต่างๆ ในการส่งสาร เช่น บอกตรง ๆ ว่าช่วยกันรักษาแม่น้ำเจ้าพระยาให้สะอาด หรือใช้คำที่คล้องจองกัน ใช้คำที่กระตุ้นให้เกิดความประทับใจ เช่น แค่ทิ้งคนละชิ้น  เจ้าพระยาก็สิ้นแล้ว  การใช้คำว่า “สิ้น” สะกิดอารมณ์ผู้ฟัง ให้ตระหนักถึงผลเสีย ใคร ๆ ก็อยากจะ “เริ่ม” มากกว่า “สิ้น” และถ้าเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำเส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย
“สิ้น” แล้วคนไทยจะอยู่อย่างสุขสบายต่อไปอย่างไร คนที่ฟังแล้วคิดต่อ ก็จะได้รับ “สาร” จากบทโฆษณานี้ 

   การโน้มน้าวใจในโฆษณาบางเรื่อง ใช้กลวิธีเร้าความรู้สึกให้เกิดอารมณ์ร่วมกับคนอื่น ๆ  ที่เป็นคนส่วนใหญ่ เช่น การโน้มน้าวใจให้รักชาติ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม เห็นใจคนจน ฯลฯ แต่บางเรื่องเกี่ยวกับคนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น นักศึกษา นักธุรกิจ พ่อแม่  ฯลฯ ไม่สามารถจะเร้าความรู้สึกของ “คนนอก” ด้วยวิธีของ “รักเจ้าพระยา” ได้ จึงต้องใช้กลวิธีอื่น เช่น การสร้างอารมณ์หรรษา  
     
             การสร้างอารมณ์หรรษาในบทโฆษณา อาจใช้กลวิธีเดียวกับบทละครหรือนวนิยาย เพียงแต่เจาะลงที่ฉากหนึ่งและให้จบเบ็ดเสร็จในตอนสั้น ๆ องค์ประกอบที่เหมือนกันมีเนื้อเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทสนทนา แนวคิด เป็นต้น แต่สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือศิลปะ  ถ้านับว่าวรรณกรรมคืองานประพันธ์ที่สื่อความรู้สึกนึกคิดอย่างมีศิลปะ  ศิลปะในที่นี้หมายถึง การเลือกรูปแบบ การสรรคำ การแสดงออก การทำให้ผู้ชมงานศิลปะเกิดความหยั่งเห็น เป็นต้น โฆษณาบางชิ้นก็เป็นวรรณกรรมได้
         โฆษณาดี ๆ หลายบทดูเพลิน น่าติดตามยิ่งกว่าตัวรายการเสียอีก   ยิ่งถ้าได้   “อ่าน” โฆษณาอย่างวรรณกรรม ก็จะได้เห็นอะไรหลายๆ อย่าง
            
โฆษณาดี ๆ มีสารที่จรรโลงใจให้ผู้ดูได้หยั่งเห็นและฉุกคิดอยู่มากเหมือนกัน เช่นเรื่องความรับผิดชอบ ความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูกกับญาติผู้ใหญ่ เป็นต้น ความเข้าใจของลูกตัวน้อย ๆ เป็นแรงใจให้พ่อแม่ได้เป็นอย่างดี เช่น พ่อลูกขับรถกลับบ้านในยามค่ำ ลูกถามพ่อว่าทำไมต้องทำงานหนักด้วย พ่อบอกว่า จะได้ซื้อบ้านใหญ่ ๆ ให้ลูก  เผอิญรถต้องเบรกกะทันหันเห็นอันตรายจ่ออยู่ตรงหน้าแล้ว
ลูกจึงตอบว่า เราอยู่บ้านเล็ก ๆ ก็ได้ เท่ากับบอกว่าหนูเป็นห่วงพ่อ อย่าทำงานหนักมมากจนเกินไป เพื่อสิ่งนี้เลย เจ้าของสินค้าได้ประโยชน์ถึง ๒ ทาง  ทางหนึ่งมีผู้รับรู้ว่าสินค้ามีคุณภาพอีกทางหนึ่งช่วยสร้างสำนึกที่ดีในใจผู้เป็นลูก
                            

             ตัวอย่างของความรู้สึกดี ๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ ความภูมิใจในตัวพ่อแม้จะมีอาชีพที่ใครๆ มองว่าสามัญมาก เด็กชายคนหนึ่งบอกเพื่อน ๆ ถึงอาชีพของพ่อและยังยืนยันกับพ่อว่า โตขึ้นเขาจะประกอบอาชีพอย่างพ่อ เพราะทึ่งในฝีมือการทำงานของพ่อซึ่งพ่อบอกว่าเป็นเคล็ดลับ  ยิ่งทึ่งหนักขึ้นไปอีกเมื่อพ่อ
บอกลูกว่าได้เคล็ดลับมาจากปู่ มรดกที่พ่อได้จากปู่ ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง แต่เป็นกลเม็ดที่ทำให้เป็นช่างฝีมือเหนือใคร มรดกนี้เด็กชายก็กำลังจะได้รับจากพ่ออีกต่อหนึ่ง จึงน่าภูมิใจยิ่งนัก  ดูโฆษณาอย่างนี้แล้วสบายใจ อิ่มใจเหมือนได้อ่าน หนังสือดี ๆ เรื่องหนึ่ง     ถ้าผู้สร้างโฆษณาตั้งอกตั้งใจ พิถีพิถัน และมีรสนิยมอย่างนี้มาก ๆ ก็คงจะดี
           ข้อคิดจากเรื่อง
โฆษณาที่มีศิลปะ ควรนับเป็นวรรณกรรมได้ โดยเฉพาะโฆษณาที่เลือกรูปแบบการโน้มน้าวที่น่าสนใจ มีการสรรคำ มีการนำเสนอที่ชวนให้ติดตาม โฆษณาทำหน้าที่เหมือนวรรณกรรมได้ โดยเฉพาะการสะท้อนภาพสังคม โฆษณาที่ดีมีสารจรรโลงใจ ทำให้ได้รับข้อคิดที่เป็นประโยชน์หรือทำให้สบายใจ เช่น โฆษณากระตุ้นให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบเรื่องรักษาสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือโฆษณาที่ชี้ให้เห็นความผูกพันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
      เรียนรู้เรื่องโฆษณา
โฆษณาเป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจประเภทหนึ่ง มุ่งจูงใจเพื่อประโยชน์ในการขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ทั้งยังจูงใจให้ผู้รับสารประพฤติปฏิบัติตามความมุ่งหมายของผู้โฆษณาด้วย
      ส่วนประกอบของโฆษณา  
        โฆษณามีส่วนประกอบที่สำคัญคือ เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ ภาษาที่ใช้และการโน้มน้าวใจ                                                                                                                   ๑. เนื้อหา ชี้ให้เห็นแต่ความดีพิเศษของสินค้า การบริการ หรือกิจกรรมที่โฆษณา
๒. รูปแบบการนำเสนอโฆษณามีรูปแบบต่างๆเช่น เป็นคำขวัญ ข้อความสั้น ๆ บทสนทนา ตำนาน นิทาน เป็นต้น
๓. ภาษาโฆษณา โฆษณาจะใช้ทั้งคำพูดและภาษาที่สื่อด้วยสิ่งอื่นๆเช่น ท่าทาง รูปภาพเป็นต้น ในโฆษณามักจะใช้ใช้ถ้อยคำแปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา สะดุดใจ ใช้ประโยคหรือวลีสั้นๆ
๔.การโน้มนาวใจ การโน้มน้าวใจของโฆษณามีหลายวิธีเช่น ๔.๑อ้างสถิติบุคคลหรือองค์กร ๔.๒ ตอบสนองธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งห่วงใยสุขภาพ ความปลอดภัย  ความสุข 
ความมั่นคงในชีวิต


        ประโยชน์
โทษของการโฆษณา
      โฆษณามีทั้งประโยชน์และโทษ ประโยชน์ของโฆษณา คือ  
เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้รู้จักสินค้าหลายประเภท ทำให้มี
โอกาสเลือกสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมหรือตรงตามความต้องการ การบริการที่สะดวก ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักประหยัด   และรู้จักกาลเทศะ                                            โทษของโฆษณา เช่น  คำโฆษณาที่เกินจริงทำให้เข้าใจผิด รือหลงผิดไปตามคำโฆษณาที่มุ่งแต่จะขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น ทำให้ตัดสินใจ
 เสนอค่านิยมที่ผิด ๆ เช่น การใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้สินค้าที่ต้องการ การพูดปดหลอกลวงเพื่อให้ได้ของของผู้อื่น การกระทำที่ผิดมารยาทของวัฒนธรรมไทย  
     โฆษณาอาจสะท้อนภาพสังคมในนนนแต่ละสมัยได้ โฆษณาบางเรื่องอาจแสดงให้เห็นค่านิยมที่เปลี่ยนไปของสังคมไทย  โฆษณาบางเรื่องสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยแปลงของค่านิยมของสังคมไทยไปในทางที่ไม่ดีงามไม่เหมาะสม เช่น ผู้หญิงเปิดเผยเนื้อตัวมากขึ้น ไม่สงวนท่าทีไม่สนใจผู้ชายและบางครั้งกล้าแสดงความสนใจฝ่ายชายก่อน โฆษณาในปัจจุบันยังนิยมให้เด็กๆโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นเป็นสื่อในการโฆษณา บางครั้งให้เด็กทำตัวเกินวัยในเรื่องการมีคู่

        อิทธิพลของภาษาโฆษณา
ผู้คิดภาษาโฆษณา พยายามสรรคำที่กระชับ เข้าใจง่าย มีความเปรียบที่ชัดเจน และสามารถสื่อความหมายได้ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าและบริการบางครั้งจึงไม่เคร่งครัดในเรื่องภาษา จะต้องใช้ภาษาแบบที่เคยใช้มาแต่เดิมเช่น อาจนำคำที่ไม่เคยปรากฏร่วมกันมาเรียงอยู่ด้วยกัน เช่น นำคำว่า โดน มาใช้กับคำว่า ใจ เป็นโนใจ เพื่อสื่อความหมายว่า ประทับใจอย่างมาก ตรงตามความต้องการอย่างยิ่ง การใช้ภาษาโดยไม่มีกรอบที่เคยใช้ ทำให้เกิดผลสำคัญ ๒ ประการ มีผลดังนี้
๑. ทำให้เกิดความสร้างสรรค์ภาษาที่มีความงามระดับวรรณศิลป์ เช่น คำขวัญโฆษณา
เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ มีลักษณะทางวรรณศิลป์คือ ใช้คำง่าย กระชับ สื่อความหมายกว้างขวางลึกซึ้งคำว่า เที่ยว-ไปมีเสียงสัมผัสพยัญชนะ/ท/ คำว่าเมือง-ไม่ มีสัมผัสพยัญชนะ/ม/ คำว่า ไท-ไม่ ไปมีเสียงสัมผัสสระ ไอ คำว่า ไม่ไปไม่รู้ มีจังหวะของคำที่สมดุล ใช้คำปฏิเสธ ไม่ ร่วมกับคำกริยา ไป และ รู้ ตามลำดับนอกจากนี้ คำว่า เที่ยว ไป และ รู้  ยังสื่อความหมายที่ลึกซึ้งว่า การท่องเที่ยวคือ การเดินทางไปให้ได้พบสิ่งใหม่เพื่อจะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่มีค่า


๒.เป็นแบบอย่างที่ให้คนในสังคมใช้ตามจนเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาษา เช่น เกิดคำใหม่ วลีใหม่ สำนวนใหม่ซึ่งไม่เคยมีใครใช้มาก่ินในขณะเดียวกันคำ วลี และสำนวนซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกันและใช้มาแต่เดิมเริ่มนิยมใช้น้อยลง เช่น เมื่อคนในสังคมใ้ช้คำว่า โดนใจ แทนคำว่า ประทับใจ ถูกใจ ถูกต้องแล้วครับ แทนคำว่า ถูก เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็จะเป็นภาษาที่เปลี่ยนไปได้ในที่สุด อาจทำให้คนที่อยู่ต่างสมัยกันเข้าใจคำคำเดียวกันไปคนละทาง


 ที่มา:http://www.jame-m3.blogspot.com