๑๐๘ มงคล พระบรมราโชวาท
๑.พอเพียง คือ อยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่เบียดเบียนใคร
...คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า
พอกิน เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น
อยู่ได้ด้วยตนเอง แปลจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง หมายความว่าสองขาของเรายืนอยู่บนพื้นได้ไม่หกล้มไม่ต้องขอยืมของคนอื่นเพื่อที่จะยืนอยู่
..คำว่า พอ
คนเราถ้าพอในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย
ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย พอเพียงอาจมีมาก อาจมีของหรูก็ได้แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น
๒.การประหยัด คือหลักประกันของชีวิต
...การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น
จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว
ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดี
ไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย
๓.
ประหยัด เพื่อความอยู่รอดและก้าวหน้า
...วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไปมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด
เนื่องจากความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลก
ยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับประคองตัวเรามากขึ้น
โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่โดยประหยัด เพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้า
ต่อไปได้โดยสวัสดี...
๔.เพียรสร้างสรรค์ความดีความเจริญเพื่อประโยชน์และความสุข
....ความพากเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้น
คือความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป
และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่อย่างหนึ่ง
กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีความเจริญให้บังเกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไปอย่างหนึ่ง
....ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อมทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม..
....ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อมทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม..
๕.กำลังแห่งความเพียร นำไปสู่ความสำเร็จ
...ความเพียรที่จะเป็นกำลังได้ต้องมีลักษณะแข็งกล้า
ไม่ย่อหย่อนเสื่อมคลายด้วยอุปสรรค ด้วยความยากลำบากเหน็ดเหนื่อยประการใดๆๆ หากแต่อุตสาหะพยายามกระทำเรื่อยไปไม่ถอยหลัง
แม้หยุดมือก็ยังพยายามติดต่อไปไม่ทอดธุระ
กำลังความเพียรจึงทำให้การงานไม่ชะงักล่าช้า มีแต่ดำเนินรุดหน้าเป็นลำดับไป
จนบรรลุความสำเร็จโดยไม่มีสิ่งใดจะยับยั้งขัดขวางได้...
๖.
วิริยะอุตสาหะ ทำให้เป็นคนขยัน อดทน และทำสิ่งที่ถูกต้อง
....ความอุตสาหะ
หรือความกล้า เป็นคำที่สำคัญ ต้องกล้าเผชิญตัวเอง เมื่อกล้าเผชิญตัวเอง
กล้าที่จะลบล้างความขี้เกียจ เกียจคร้านในตัว
หันมาพยายามอุตสาหะก็ได้เป็นวิริยอุตสาหะ
วิริยะในทางที่กล้าที่จะค้านตัวเองในความคิดพิเรนทร์ ก็เป็นคนที่มีเหตุผล เป็นคนที่ละอคติต่างๆๆ
หมายความว่าเป็นคนที่คิดดี ที่ฉลาด
วิริยะในมางที่ไม่ยอมแม้แต่ความเจ็บปวดความกลัวจะมา คุกคามก็ทำสิ่งที่ถูกต้อง..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น